เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ (Cookies) เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและ ยินยอมการจัดเก็บคุกกี้ดังกล่าว โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน นโยบายคุกกี้ และ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของบริษัทฯ
31 ตุลาคม 2562

แก่แล้วไม่จน ด้วย 6 ขั้นตอนง่ายๆ

65
3,717
ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงฤดูเกษียณอายุการทำงานของหลาย ๆ คนนะคะ เราอาจเห็นญาติพี่น้องของเราที่เคยออกจากบ้านไปทำงานเริ่มที่จะอยู่บ้านกันมากขึ้นหรือได้ไปออกกำลังยามเช้าแบบไม่เร่งรีบ มีเวลานัดเพื่อนฝูงทานข้าวและทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่คนวัยทำงานไม่มีโอกาสจะได้ทำ บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวแต่อย่าคิดอย่างนั้นเลยค่ะ วันหนึ่งในอีก 10-30 ปีข้างหน้าเราก็ต้องเจอฤดูเกษียณอายุค่ะ การที่ไม่ได้ทำงานนั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ปัญหาใหญ่นั้นคือจะมีเงินให้ใช้เมื่อไม่ได้ทำงานอย่างไรต่างหาก วันนี้ #ไอไดเร็คท์ขอนำเสนอแนวทางที่นักวางแผนทางการเงินท่านบอกว่าใช้ได้ผลมาฝากค่ะ

ขั้นตอนแรก
เราต้องประเมินตัวเองว่า จะทำงานถึงอายุเท่าไร และคาดว่าจะมีอายุยืนขนาดไหน บางคนบอกทำงานถึงอายุ 45 ก็พอแต่น่าจะอายุยืนถึง 90 ในขณะที่บางคนอาจต้องการทำงานถึงอายุ 60 และคิดว่าอายุน่าจะอยู่ได้ถึง 80 ปี อันนี้แล้วแต่ความปรารถนาและแนวโน้มทางพันธุกรรมของแต่ละคนค่ะ.. เมื่อได้ตัวเลขแล้วก็เขียนลงในกระดาษไว้เลยค่ะ 

ขั้นตอนที่ 2
เราคาดว่าจะใช้เงินในแต่ละเดือนเท่าไร และเมื่อเราเกษียณแล้วเราอาจจะใช้เงินมากหรือน้อยกว่าปัจจุบันนี้ ลองหาตัวเลขมาค่ะ แต่เราอย่าลืมองค์ประกอบของค่าใช้จ่ายด้วยนะคะ เช่น สมมุติว่าตอนนี้เราใช้เงินเดือนละ 40,000 บาท มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ค่าดูภาพยนตร์วันเสาร์-อาทิตย์ หรือค่าสังสรรค์มื้อเย็นกับเพื่อนร่วมงานเท่าไหร่ เราสามารถตัดออกได้ไหมเมื่อเราเกษียณ ถ้าตัดได้ตัดเลยค่ะ นอกจากตัดแล้วเรายังต้องคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเผื่อไว้ด้วยนะคะ เช่น ค่าหมอและค่ายารักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม (รวมโรคฮิตพื้นฐานของคนสูงวัยค่ะ) ซึ่งค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอาจจะมากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายปัจจุบันก็ได้ค่ะ

ยกตัวอย่างการคำนวณแบบง่าย ๆ
- เราอายุ 35 ปี คิดว่าจะทำงานถึงอายุ 55 ปี และคาดว่าอายุยืนถึง 70 ปี
- ต้องการมีใช้เงินหลังเกษียณประมาณเดือนละ 30,000 บาท นั่นหมายความว่า
- เราจะมีเวลาทำงานเก็บเงินอีก 20 ปี และมีชีวิตอยู่หลังเกษียณต่อไปอีก 15 ปี
- ซึ่งเท่ากับว่า เราจะต้องเตรียมเงินไว้อย่างน้อย 5 ล้าน 4 แสนบาท สำหรับไว้ใช้หลังเกษียณ คือ (30,000 x 12เดือน x 15ปี) นั่นเองค่ะ

ขั้นตอนที่ 3
เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพชีวิตวัยเกษียณของเราและความฝันของเราที่จะเกษียณตามอายุที่ต้องการว่าจะเป็นไปได้ไหม นั่นคือ ตอนนี้เรามีเงินเก็บเงินออมเท่าไร ซึ่งรวมเงินจากทุกแหล่งที่เรามี เช่น ประกันชีวิต กองทุนสำรอง เงินบำเน็จ-บำนาญ เงินลงทุน และเงินออม เป็นต้น (ใครที่มีเงินบำนาญก็ดีหน่อยค่ะ เพราะช่วยค่าใช้จ่ายหลังเกษียณได้ไปตลอดอายุ)

ขั้นตอนที่ 4
เปรียบเทียบเงินเก็บที่เรามีตอนนี้กับเงินที่เราคำนวณว่าจะต้องมีเพื่อเอาไว้ใช้หลังเกษียณ ถ้ามีเงินเก็บมากโอกาสที่คุณจะใช้ชีวิตสบาย ๆ แบบที่ต้องการหลังเกษียณก็เป็นไปได้มาก แต่หากมีน้อยก็ต้องมาวางแผนขั้นตอนต่อไปเพื่อเก็บออมไว้ให้เพียงพอค่ะ อย่างแอดมินหากตอนนี้มีเงินเก็บถึง 6 ล้าน นั่นก็หมายถึงว่าแอดมินมีเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็ยังต้องวางแผนเพื่อทำให้เงินก้อนนี้งอกเงยเพิ่มขึ้นค่ะ ชีวิตหลังเกษียณจะได้มีความเป็นอยู่อย่างสบาย ๆ หรือหากตอนนี้ถ้าแอดมินมีเงินเก็บเพียง 2 ล้านบาทจากทุกแหล่งในขณะที่เงินหลังเกษียณควรมีถึง 5 ล้าน 4 แสน ก็ต้องมาวางแผนการเก็บเงินกัน ตัวอย่างเช่น ทำงานอีก 20 ปี เพื่อเก็บเงินให้ได้ 3 ล้าน 4 แสนบาท เท่ากับว่าแอดมินต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อยปีละ 170,000 บาท หรือเดือนละ 14,166 บาทค่ะ

ขั้นตอนที่ 5
วางแผนการเงินในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นการตัดค่าใช้จ่าย หรือการเพิ่มรายรับ เพื่อให้เราสามารถมีเงินเก็บเพียงพอไว้ใช้หลังเกษียณ ซึ่งการวางแผนทางการเงินนี้ อาจเป็นการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่ากาแฟ ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าดูหนังในโรงภาพยนต์ ช้อปปิ้ง เป็นต้น หรือการเพิ่มรายรับ เช่น หางาน part time อย่างการขับรถ Grab ขายของออนไลน์ หรือการลงทุนในหุ้นและกองทุน รวมถึงการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเก็บเงินได้ ตามจำนวนที่วางแผนได้

ขั้นตอนที่ 6
การทบทวนแผนการเงินของเราอย่างสม่ำเสมอค่ะ เพราะเราอาจเผชิญกับข้อจำกัดหรือความเปลี่ยนแปลงทั้งดีทั้งร้ายได้ตลอดเวลา การทบทวนแผนการเงินจะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนวิธีในการจัดการการเงิน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้ ดังนั้นทุกรอบปีเราควรมาทบทวนแผนการเงินของเรากันค่ะ

สุดท้ายนี้แอดมินมีโปรแกรมช่วยคำนวณอย่างง่าย ๆ
จาก Link - https://www.set.or.th/happymoney/home.html มาฝากค่ะ หวังว่าแนวทางข้างต้นจะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกท่าน
สู้ๆ นะคะ เราจะได้สบายใจในวัยเกษียณกันค่ะ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
----------------------------------------------------------------------------
ดูแลคุณด้วยคำปรึกษาและบริการที่ดีที่สุด ไว้วางใจ #ไอไดเร็คท์
#ประกันสุขภาพ พร้อมบัตรแคร์การ์ด
-  แบ่งชำระเบี้ยสบายๆ สูงสุด 6 งวด
-  ซื้อเดี่ยวไม่ต้องเอี่ยวประกันชีวิต
-  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ คลิก  > http://bit.ly/2Nsj4FS
 
ติดต่อเรา คลิก >  http://bit.ly/31UZzev
----------------------------------------------------------------------------
#ไอไดเร็คท์จริงใจทุกบริการ
#เพราะเราจริงใจจริงๆ
แบ่งปันบทความนี้ไปยัง