คำถามเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ที่มีถามมาบ่อย ๆ สามารถอ่านได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ได้ ซึ่งทางไอ - ไดเร็คท์ ได้รวบรวมอธิบายไว้เรียบร้อยแล้ว
- ข้อมูลของรถ ได้แก่ ยี่ห้อ รุ่น เลขทะเบียน หมายเลขตัวถังรถยนต์ อายุรถ ขนาดเครื่องยนต์ - หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคุณ และของผู้ขับขี่ที่ต้องการระบุชื่อในกรมธรรม์ - กรมธรรม์เดิม หากคุณต้องการส่วนลดประวัติดี - ข้อมูลบัตรเครดิด หรือบัตรเดบิตสำหรับการชำระเงิน หรือ แจ้งความประสงค์ชำระเป็นเงินสดโดยโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของทางบริษัท
มื่อมีอุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้ กรณีมีผู้บาดเจ็บ - รีบหาทางนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด - แจ้งเหตุให้ตำรวจ และบริษัทประกันภัยทราบ โดยแจ้ง วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ และลำดับการเกิดเหตุให้ชัดเจน - รอเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาถึงที่เกิดเหตุและเป็นผู้ประสานงานให้ ไม่ควรเจรจาต่อรองเรื่องค่าสินไหมทดแทนด้วยตนเอง กรณีคุณไม่ใช่ฝ่ายผิด - แจ้งเหตุให้บริษัทประกันภัยทราบ โดยแจ้ง วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ และลำดับการเกิดเหตุให้ชัดเจน - ควรจดรายละเอียดของคู่กรณีที่ทำผิด เช่น ทะเบียนรถยนต์ ยี่ห้อ รุ่น ชื่อ ที่อยู่ ใบขับขี่และหมายเลขโทรศัพท์ของคู่กรณี ถ่ายภาพความเสียหายทั้งรถยนต์ของคุณและคู่กรณี - รอเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาถึงที่เกิดเหตุและเป็นผู้ประสานงานให้ ไม่ควรเจรจาต่อรองเรื่องค่าสินไหมทดแทนด้วยตนเอง ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด - แจ้งเหตุให้บริษัทประกันภัยทราบ โดยแจ้ง วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ และลำดับการเกิดเหตุให้ชัดเจน - รอเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาถึงที่เกิดเหตุและเป็นผู้ประสานงานให้ ไม่ควรเจรจาต่อรองเรื่องค่าสินไหมทดแทนด้วยตนเอง - ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่คู่กรณีถ้าอีกฝ่ายขอ
หากผู้เอาประกันภัยขายหรือโอนรถยนต์ให้ผู้อื่นโดยที่ไม่ได้มีการแจ้งยกเลิกกราประกันภัยนั้น ให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์และบริษัทประกันต้องรับผิดตามกรมธรรม์ตลอดอายุกรมธรรม์ แต่ในกรณีที่กรมธรรม์นั้นมีการระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัยเดิมจะต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ต่อบริษัทประกันทราบ เพื่อจะได้มีการปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยงภัยที่เปลี่ยนไป
จากสถิติและความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนโดยส่วนมากมาจากผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อย เนื่องจากมีประสบการณ์ในการขับขี่น้อย จึงส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันสูงมากกว่า
สามารถเคลมได้ ซึ่งผู้เอาประกันต้องจำทะเบียนรถคู่กรณีและไปแจ้งความยังสถานีตำรวจในท้องที่ ที่เกิดเหตุ เพื่อลงบันทึกประจำวัน และแจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัยโดยทันที ในกรณีที่ไม่สามารถระบุคู่กรณี หรือจำทะเบียนรถคู่กรณีไม่ได้ ประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากผิดเงื่อนไขแบบประกัน ที่ต้องมีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น
ประกันภัยภาคสมัครใจ คือ ประกันภัยรถที่กฎหมายไม่ได้บังคับ ซึ่งคุ้มครองความเสียหายของรถยนต์คันที่เอาประกันภัยรวมถึงความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดจากการเกิดเหตุครั้งนั้น โดยสามารถซื้อเพิ่มจากความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ถือเป็นการโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้ระบุความคุ้มครองไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ - ประเภท 1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ และความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย - ประเภท 2 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ - ประเภท 3 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเท่านั้น - ประเภท 4 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง - ประเภท 5 มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ประเภท 2+ คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ และความเสียหายต่อตัวรถยนต์กรณีการชนกับยานพาหนะทางบก 2. ประเภท 3+ คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และความเสียหายต่อตัวรถยนต์กรณีการชนกับยานพาหนะทางบก
- ค่ารักษาพยาบาลตามจริงกรณีบาดเจ็บ คุ้มครองสูงสุด 80,000 บ. ต่อคน - ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ คุ้มครอง 200,000 – 300,000 บ. - ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร คุ้มครอง 300,000 บ. ต่อคน - ค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล 200 บ. ต่อวัน (สูงสุดรวมไม่เกิน 20 วัน)
ทุกคนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากรถยนต์คันที่มีประกันภัยนี้ เช่น ผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร, บุคคลภายนอกรถ, คนเดินเท้า, ฯลฯ
ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) คือ ประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ ซึ่งมีความคุ้มครองต่อชีวิต หรือการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ รวมถึงบุคคลอื่น แต่ไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายต่อทรัพย์สิน
คำถามเกี่ยวกับประกันสุขภาพที่มีถามมาบ่อย ๆ สามารถอ่านได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ได้ ซึ่งทางไอ - ไดเร็คท์ ได้รวบรวมอธิบายไว้เรียบร้อยแล้ว
ท่านสามารถแจ้งขอรับกรมธรรม์ใหม่ได้ โดยติดต่อแจ้งศูนย์บริการลูกค้า 02-700-5222 เพื่อให้เราประสานงาน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตามกรมธรรม์บางประเภท บริษัทประกันอาจเรียกค่าธรรมเนียมในการออกกรมธรรม์ฉบับใหม่
หลังจากบริษัทประกันได้รับชำระเบี้ยและตกลงรับประกันภัย กรมธรรม์จะถูกจัดส่งถึงท่านตามที่อยู่ที่ท่านให้ไว้ ภายใน 15 วันทำการ
ความคุ้มครองและข้อยกเว้น เป็นไปตามรายละเอียดของกรมธรรม์แต่ละฉบับ ผู้ถือกรมธรรม์ควรอ่านเพื่อทำความเข้าใจและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของท่านเอง ในกรณีที่มีข้อสงสัยสามารถติดต่อที่ 02-700-5222
คำถามเกี่ยวกับประกันอื่น ๆ ที่มีถามมาบ่อย ๆ สามารถอ่านได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ได้ ซึ่งทางไอ - ไดเร็คท์ ได้รวบรวมอธิบายไว้เรียบร้อยแล้ว
ข้อดีของการซื้อผ่านนายหน้า คือ นายหน้าจะเป็นเสมือนผู้รักษาผลประโยชน์และจะนำเสนอแบบประกันจากบริษัทประกันต่างๆที่เหมาะสมให้ท่านได้เลือก โดยที่ท่านไม่ต้องติดต่อบริษัทประกันหลายๆแห่งด้วยตัวเอง การทำประกันจึงเป็นเรื่องง่ายและสะดวก อีกทั้งนายหน้ายังมีบริการอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การผ่อนชำระ การติดตามสินไหม เป็นต้น
- ลักษณะความคุ้มครองที่ต้องการ - ทุนประกัน - ความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน - บริษัทผู้รับประกัน
สบายใจและวางใจได้ เมื่อให้ I-Direct ช่วยดูแล เพราะเราคือทีมงาน ที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในธุรกิจด้านประกันที่หลากหลาย ครอบคลุมตามความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง ประกันรถยนต์ และการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ให้บริการด้วยความใส่ใจในทุกๆรายละเอียดด้วยความซื่อตรงต่อลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการทำงานของเรา ภายใต้แนวคิด #จริงใจทุกบริการ เพื่อให้ลูกค้าของเราได้รับประสบการณ์การใช้บริการประกันทุกรูปแบบได้ดีที่สุด