เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ (Cookies) เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและ ยินยอมการจัดเก็บคุกกี้ดังกล่าว โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน นโยบายคุกกี้ และ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของบริษัทฯ
29 สิงหาคม 2562

ประเด็นใหม่ควรรู้ ! ก่อนการยื่นภาษีปีนี้

75
3,928
เข้าสู่ช่วงเวลาของการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีกันอีกครั้งนะคะ ซึ่งในปีนี้มีประเด็นใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับผู้เสียภาษีโดยตรงที่หลายท่านอาจยังไม่ทราบ 
วันนี้ #ไอไดเร็คท์ จึงได้รวบรวมมาฝากก่อนยื่นแบบแสดงภาษีปีนี้กันค่ะ  

1) ตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนภาษีได้ด้วยตัวเองแล้วนะ...รู้ยัง !

บริการใหม่ของกรมสรรพากรร่วมกับสำนักงานทะเบียนราษฎร์เริ่มปีนี้  ให้เราสามารถตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนภาษีปี 2561 ได้ด้วยตัวเองแล้วนะคะ 
โดยบริการใหม่นี้ชื่อว่า #MyTaxAccount ให้เราสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนภาษีของตัวเองได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีรายการที่สามารถตรวจสอบข้อมูลค่าลดหย่อนได้ 3 รายการดังนี้

1. ประกันสุขภาพ 
2. เงินบริจาค (ที่ผ่าน e-Donation)
3. เงินสะสมเข้ากองทุนต่าง ๆ (สำรองเลี้ยงชีพ กบข.)

และถึงแม้จะเป็นระยะเริ่มต้น ข้อมูลรายการลดหย่อนยังไม่ครบ แต่ก็เรียกว่าเป็นประโยชน์สำหรับเราอย่างยิ่งเลยนะคะ โดยเฉพาะเรื่องของการประกันสุขภาพ เพราะบ่อยครั้งเราเองก็ไม่แน่ใจว่าประกันตัวไหนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง หรือบางที่ก็ลืมว่าได้ทำประกันวันจนเสียสิทธิไปก็มี หรืออย่างเรื่องของการบริจาคเงินผ่าน e-donation ก็เช่นกัน บริจาคไปแล้วก็ไม่ได้จำว่ามีอะไรบ้าง ต่อจากนี้สรรพากรช่วยเราเช็ค ช่วยเราเก็บข้อมูลค่ะ 
ลองเข้าไปเช็คดูกัน และฝากแชร์เพื่อน ๆ ด้วยก็ดีนะคะ เรื่องใหม่สุด ๆ ที่เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้แน่นอน ! สามารถคลิกเข้าlinkได้ที่ : http://bit.ly/2t3sq16


2) สิทธิการยกเว้นภาษีสำหรับผู้สูงอายุก็มีนะ !

ทราบหรือไม่คะ เมื่อเรามีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น เราจะได้รับสิทธิยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ค่ะ สำหรับเงินได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ เช่น เงินเดือน เงินบำนาญ ค่าเช่า หรือดอกเบี้ยเป็นจำนวน 190,000 บาท แต่ส่วนที่เกินจาก 190,000 บาท เรายังต้องยื่นเพื่อเสียภาษีนะคะ ตัวอย่างเช่น ในปี 2561 หากเรามีเงินได้จากเงินบำนาญตลอดทั้งปี 300,000 บาท เราจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำเงินบำนาญส่วนแรก 190,000 บาท มาคำนวณเพื่อเสียภาษี แต่ส่วนที่เหลืออีก 110,000 บาท เราต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ค่ะ หรือในกรณีที่ไม่มีรายได้อื่น ๆ นอก
จากดอกเบี้ยเงินฝาก เราก็สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน เช่น ถ้ามีดอกเบี้ยเงินฝากทั้งปี 200,000 บาท เราจะสามารถใช้สิทธินี้เพื่อเสียภาษีจากดอกเบี้ยที่เกิน 190,000 บาท ดังนั้น ดอกเบี้ยที่นำมาคำนวณภาษีจะเหลือเพียงแค่ 10,000 บาท เท่านั้น 

หรือในกรณีที่มีรายได้จากหลายแหล่ง เราก็สามารถใช้สิทธินี้ได้ เช่น เราได้เงินบำนาญ 300,000 บาท และมีรายได้จากดอกเบี้ยอีก 200,000 บาท เราจะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จากเงินบำนาญเพียง 100,000 แล้วใช้สิทธิส่วนที่เหลืออีก 90,000 สำหรับยกเว้นเงินได้จากดอกเบี้ยอีกก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 190,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวางแผนของผู้เสียภาษีเองค่ะ  
https://bit.ly/2TFHYUo   
https://bit.ly/2Br4SYJ   


3) การออกหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่ายของข้าราชการบำนาญ ก็ง่ายยิ่งขึ้นด้วย ! 

นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับเหล่าข้าราชการบำนาญ เพราะนับจากปีนี้ กรมบัญชีกลางได้เพิ่มความสะดวกให้ข้าราชการบำนาญไม่ต้องเดินทางไปรับเอกสารด้วยตนเองอีกต่อไป  โดยสามารถเข้าเว็บไซต์  "กรมบัญชีกลาง" www.cgd.go.th/wps/portal  แล้วไปดูกรอบทางซ้ายมือ หัวข้อ "ระบบงาน" และคลิกไปที่ "หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย"  ในหน้าถัดไป จากนั้น เพียงพิมพ์ "เลขประจำตัวประชาชน" ของเรา 13 หลัก หรือเลือกพิมพ์ "ชื่อ-นามสกุล" (เลือกพิมพ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง) แล้วกด "เลือก" หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย” ก็จะปรากฎบนหน้าจอ และสามารถพิมพ์ออกมาใช้ได้เลย นับเป็นการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนอย่างเรายิ่งขึ้นเลยค่ะ  https://bit.ly/2RPI9us


4) คืนภาษีผ่านบริการพร้อมเพย์ได้รีบเงินคืนรวดเร็วจริง ๆ
 
เมื่อก่อนการขอคืนภาษีต้องรอนานเป็นเดือนกว่าเราจะได้เช็ค เมื่อได้เช็คแล้วก็ยังต้องไปธนาคารเพื่อเอาเช็คเข้าบัญชีอีก เสียเวลาจริง ๆ ค่ะกว่าจะได้เงิน
แต่ตอนนี้กรมสรรพากรมีบริการขอคืนภาษีผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการคืนภาษีค่ะ หากไม่ติดเกณฑ์หรือมีความผิดปกติใด ๆ เราจะได้เงินคืนเข้าบัญชีที่เปิดบริการพร้อมเพย์ไว้ภายในไม่กี่นาที หรือช้าสุดไม่เกิน 1 วันค่ะ เรื่องนี้อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวไว้ว่าเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ National e-Payment ค่ะ


อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่ยังอยากรับเงินภาษีคืนเป็นเช็คก็ยังสามารถทำได้ แต่ใช้เวลาตามระเบียบราชการไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนั้น หากว่ายังไม่ได้สมัครบริการพร้อมเพย์ก็สามารถไปสมัครได้กับทุกธนาคารที่เรามีบัญชีออมทรัพย์นะคะ  หรือหากไม่แน่ใจว่าเปิดบริการพร้อมเพย์แล้วหรือยัง ก็ติดต่อสอบถามกับธนาคารที่เรามีบัญชีได้โดยตรงเลยค่ะ
https://bit.ly/2DnWCZl


และอย่าลืมนะคะ หากมีการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เบี้ยประกัน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ตรวจสอบกับบริษัทประกันก่อนว่าประกันที่เราสนใจซื้อหรือที่มีอยู่แล้วสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
 
แบ่งปันบทความนี้ไปยัง